ปฐมพยาบาลเบื้องต้น (First Aid) เป็นการให้ความช่วยเหลือทางการแพทย์แก่ผู้ป่วยหรือผู้บาดเจ็บทันที ณ บริเวณเกิดเหตุ อาจเป็นการใช้ทักษะความรู้เฉพาะทางหรือการตัดสินใจที่เหมาะสมกับสถานการณ์ฉุกเฉิน ในการช่วยเหลืออาจใช้เพียงอุปกรณ์เท่าที่หาได้ในขณะนั้น เพื่อประคับประคองอาการของผู้ป่วยจนกว่าจะได้รับการรักษาจากบุคลากรทางการแพทย์ หรือถูกส่งต่อเพื่อเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลอย่างเร่งด่วน

22894211_1530440270346926_4779659679188862561_n 22894384_1530440337013586_2729925122622151326_n 22852115_1530435647014055_1761824422762251238_n

จุดประสงค์ในการปฐมพยาบาลเบื้องต้น

อุบัติเหตุเกิดขึ้นได้เสมอ การเรียนรู้การปฐมพยาบาลเบื้องต้น เพื่อรับมือกับสถานการณ์ที่ไม่คาดคิดจึงเป็นเรื่องสำคัญ การปฐมพยาบาลเบื้องต้นอย่างถูกต้องอาจช่วยป้องกันความพิการที่อาจเกิดขึ้นจากอาการบาดเจ็บ ไม่ว่าจะเป็นความเจ็บป่วยจากอุบัติเหตุเล็กน้อย ๆ ก็ตาม โดยช่วยลดความรุนแรงของอาการบาดเจ็บ และช่วยให้ร่างกายของผู้ป่วยกลับสู่สภาพเดิมโดยเร็ว ด้วยวิธีการเช่น การทำความสะอาดแผลด้วยน้ำเย็น หรือใช้ผ้าพันแผลกดห้ามเลือดสำหรับบาดแผลจากของมีคม ตลอดจนการรับมือในกรณีอุบัติเหตุร้ายแรงที่อาจส่งผลถึงชีวิตด้วยเช่นกัน

22851956_1530436863680600_4717387869647860762_n 22815127_1530439310347022_1614709860121558536_n 22815107_1530437090347244_6858423175065570880_n

ปฐมพยาบาลเบื้องต้นกับอุบัติเหตุ

วิธีการปฐมพยาบาลเบื้องต้นต้องดูตามอาการซึ่งแตกต่างกัน โดยผู้ที่ให้ความช่วยเหลือต้องมีสติ คิดหาวิธีรับมือ และตัดสินใจให้เหมาะสมกับสถานการณ์มากที่สุด สิ่งที่ผู้ช่วยเหลือควรคำนึงถึง คือ เรื่องขีดความสามารถ ข้อจำกัด หรือความปลอดภัยเป็นอันดับต้น ๆ โดยให้รีบติดต่อขอความช่วยเหลือจากหน่วยงานกู้ชีพฉุกเฉินเสมอ

22851837_1530437623680524_4163885274836020566_n 23031190_1530436713680615_8385197438101047228_n 22852007_1530436797013940_6024691546886980681_n

สถานการณ์ฉุกเฉินที่เป็นอันตรายถึงชีวิต ฝึกให้การปฐมพยาบาลอย่างรวดเร็วเมื่อท่านเห็นอาการต่อไปนี้ในผู้ประสบภัย

  • หยุดหายใจ
  • หัวใจหยุดเต้น—ทำการนวดหัวใจผายปอดกู้ชีพ (ซีพีอาร์)
  • เลือดออกมาก
  • หายใจไม่สะดวก
  • ได้รับพิษจากการกินหรือการหายใจ
  • ช็อก
  • ช็อกจากภูมิแพ้

22815629_1530445773679709_6777462571517744398_n 23031315_1530446163679670_4379376521431038514_n 22852105_1530446130346340_7524436691950206941_n

การบาดเจ็บอื่น เรียนรู้วิธีวินิจฉัยและตอบสนองเมื่อมีผู้ประสบการบาดเจ็บอย่างใดอย่างหนึ่งต่อไปนี้

  • สัตว์กัด
  • แผลพุพอง
  • แผลไฟไหม้ระดับหนึ่ง สอง และสาม
  • หิมะกัดและอุณหภูมิในร่างกายต่ำเกินไป
  • แผลถูกของมีคมบาดและแผลถลอก
  • บาดเจ็บที่ตา
  • กระดูกหัก
  • หมดแรงและอ่อนเพลียเพราะอากาศร้อนจัด
  • แมลงกัดต่อย
  • เลือดกำเดาไหล
  • แผลถูกแทง
  • ผิวหนังได้รับพิษจากพืช
  • ข้อเคล็ด

23032458_1530440117013608_2115855633024237806_n 23031703_1530439187013701_6393157467784323004_n 22853137_1530440610346892_3830944737347699891_n

ผ้าพันแผล ผ้าคล้องคอ และแผ่นไม้บางๆ สำหรับเคลื่อนย้ายผู้บาดเจ็บ เรียนรู้วิธีเคลื่อนย้ายผู้บาดเจ็บโดยใช้วิธีต่อไปนี้ เราอาจจะฝึกเทคนิคเหล่านี้ในกลุ่มๆ ละสามคนขณะที่คนหนึ่งในกลุ่มเป็นผู้ได้รับบาดเจ็บ

  • ช่วยพยุงเดิน
  • ใช้หนึ่งและสองคนแบก
  • ใช้สองคนยกเก้าอี้
  • ใช้ผ้าห่มเคลื่อนย้าย
  • เปลหาม

22886205_1530444200346533_5796299276425979640_n 22886202_1530444530346500_1253694481205463889_n 23130478_1530441417013478_6253770517662155084_n